วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อธิกมาส อธิกวาร อธิกสุรทิน

อธิกมาส อธิกวาร อธิกสุรทิน
เป็นอีกเรื่องที่ควรรู้นะครับ "หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นความรู้ให้ทุกๆท่าน 
          ปีที่แบ่งตามรอบพระอาทิตย์ (สุริยคติ) มี 2 แบบ คือ
1. ปกติสุรทิน คือ มี 365 วัน
2. อธิกสุรทิน คือ มี 366 วัน (เดือนกุมภาฯมี 29 วัน)
         การคำนวน ปีอธิกสุรทิน
ตรงนี้บางท่านจะจำได้แต่เพียง ว่า หาร 4 ซึ่งไม่ใช่แค่นั้นครับ
ความจริงแล้ว จะมีสูตรคำนวณที่ถูกต้องคือ
ให้เอา ค.ศ.ตั้ง แล้วเอา 4 หาร หากหารลงตัวก็ใช่
ยกเว้น 100 หารลงตัว แต่หาก 400 ลงตัวก็ให้นับเป็นอธิกสุรทินด้วย
(เช่น ปี 1900 ไม่เป็นอธิกสุรทิน แต่ปี 2000, 2004 เป็นปีอธิกสุรทิน)
          ปีที่แบ่งตามรอบพระจันทร์ (จันทรคติ) แบ่งเป็น 3 คือ
1. ปกติมาส-ปกติวาร (บางที่เขียนย่อ เป็น ปกติมาส-วาร)
คือ ปีที่เป็นปกติ มีเดือนคู่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วัน
และมีเดือนคี่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 วัน
รวมวันใน 1 ปี เป็น (30*6+29*6) = 354 วัน
2. ปกติมาส-อธิกวาร (บางที่เรียกเป็น อธิกวาร)
คือ ปีที่เป็นปกติ แต่เดือน 7 จะมีข้างแรม 15 วัน
รวมวันใน 1 ปี เป็น 354+1 = 355 วัน
3. อธิกมาส-ปกติวาร (บางที่จะเรียกเป็น อธิกมาส)
คือ ปีที่มีเดือนแปดเพิ่มอีกเดือน หรือที่เรียกกันว่า มีเดือนแปดสองหน
รวมวันใน 1 ปี เป็น 354+30 = 384 วัน
และจะไม่มีปีใดที่เป็น "อธิกมาส-อธิกวาร" หรือ
ไม่มีปีไหนที่เป็นทั้งเดือนแปดสองหนและ เดือน 7 เพิ่มอีกวันไปพร้อมๆกัน
*** คำและความหมาย ***
อธิก- (อ่านว่า อะ-ทิ-กะ) ในที่นี้หมายถึง "เกิน, เพิ่ม"
ส่วนคำว่า วาร แปลว่า "วัน"
มาส แปลว่า "เดือน"
คำว่า สุรทิน มาจาก สุร + ทิน
ทิน แปลว่า "วัน"
สุร ในที่นี้น่าจะแปลว่า "พระอาทิตย์"
         จากตัวเลขเหล่านี้ ทำให้ทราบว่า
ปีปกติพระจันทร์ จึงน้อยกว่าปีปกติพระอาทิตย์อยู่ 365-354 = 11 วัน
เมื่อครบ 3 ปีเลยทำให้มีวันขาดอยู่ 33 วัน
เลยมีการเกิดเป็นปี อธิกมาส หรือมีเดือน 8 เพิ่มอีกหน
ส่วนเศษ 3 ก็มีการกระจัดกระจาย ให้เป็นปี อธิกวารแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประเกษตร

ดาวเกษตรหมายถึงความมั่นคง ถาวร ยั่งยืน แต่ หากดาวที่โคจรมายังราศีตรงข้ามของเรือนเกษตร ดาวนั้นจะได้ตำแหน่ง "ประเกษตร หรือ...